Monday, August 10, 2009

โลกของซูซูกิ

โลกแห่งเทคโนโลยีของซูซูก็เริ่มเป็นเงาขึ้นอย่างเลือนลาง เมื่อครอบครัวของชาวไร่ฝ้ายชานเมืองฮามา มัทซึ คนหนึ่ง ให้กำเนิดทารกเพศชายขึ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 ท่ามกลางความยินดีของครอบครัวทุกคน ซึ่งเป็นคติธรรมเนียมของชาวเอเชียตะวันออกไกล มักจะให้ความสำคัญของเด็กที่เกิดใหม่เป็นเพศ ชายเสมอ เพราะนั่นเป็นกำลังงานสำคัญสำหรับประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัวสืบไปเด็กคนนี้ได้รับการขนานนามตามชื่อสกุลของเขาว่า "Mishio Suzuki"

หลังผ่านพ้นภาวะของความเป็นเด็กไปไม่นาน หนุ่มน้อย ซูซูกิ ก็ได้เป็นกำลังของครอบครัวด้วยการออกไปฝึกการเป็นช่างไม้ ด้วยอายุเพียง 14 ปี แล้วแววอัจฉริยะของเขาก็ปรากฎเมื่อ ซูซูกิ เข้าไปฝึกงานที่โรงงานทอผ้าอยู่ 4 ปี ก็เริ่มใช้ความชำนาญในเชิงช่างประดิษฐ์เครื่องทอผ้าได้สำเร็จ จนต่อมาสามารถตั้งโรงงานทอผ้าของตนเองได้ในปี 2463 ใช้ชื่อโรงงานว่า "Suzuki Loom Manufacturing" ด้วยทุนจดทะเบียน 500,000 เยน มีผู้ถือหุ้น 72 คน เป็นวันเดียวกับที่ตลาดข้าว ฝ้าย ไหม และหุ้นพังทลายโรงงานขนาดเล็กจำนวนมากต่างล้มละลาย แต่บริษัทของ ซูซูกิ สามารถประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตาม ซูซูกิ ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นสินค้าประเภทอุปโภคเขาได้ทำการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า รถยนต์ ขนาดเล็ก จะเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวได้ดีที่สุด ซึ่งนี่คือ จุดเริ่มต้นแห่งความเป็นอัจฉริยะของเขาอย่างชัดเจน เนื่องจากตลาดรถยนต์ในขณะนั้นมียอดจำหน่ายเพียง 20,000 คัน เท่านั้น SUZUKI เริ่มผลิตเครื่องยนต์ขนาด 750 ซีซี.4 ลูกสูบขึ้น เป็น ครั้งแรก หลังการจัดตั้งโรงงานได้สำเร็จแต่กิจการต้อง หยุดชะงักลง เนื่องจากในขณะนั้เเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นทำสงครามกับประเทศจีนทำให้รัฐบาล
สั่งห้ามดำเนินกิจการที่ไม่สำคัญเพื่อใช้โรงงานในการสร้างอาวุธทำให้ ซูซกิต้องย้ายมาตั้งโรงงานใหม่ที่Takatsuka (ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของซูซูกิ) เพื่อใช้ในการเสริมสร้างการผลิตของโรงงานที่ Hamamatsu อีกส่วนหนึ่ง ในปี 2487 บริษัทเริ่มประสบผลการขาดทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากแผ่นดินไหว ทำให้ตึกถล่มไป 3 หลังและอีก 2 หลังเสียหายเป็นบางส่วน แต่ก็ไม่เป็นผลทำให้กิจการของ ซูซูกิ ชะงักลงทั้งหมด

หลังสงครามสิ้นสุดลง ผลจากสงครามส่งผลให้วัตถุดิบต่างๆขาดแคลนทำให้ Mr. Mishio Suzuki ประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายจึงหาทางออกด้วยการพักผ่อนโดยการขี่จักรยานท่องเที่ยวไปแบบไม่มีจุดหมายปลายทาง และจากการเดินทางในครั้งนั้น ทำให้ SUZUKI พบว่าระบบขนส่งถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงน้อยคนนัก ที่จะมีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ใช้ หลายบริษัทเริ่มผลิตรถจักรยานยนต์แบบหยาบๆและขาดคุณภาพ SUZUKI จึงคิดว่า ตนน่าจะเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ที่มี คุณภาพได้ดี และดีพอที่จะสร้างให้เข้าสู่ ระบบอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากซูซูกิเคยมีประสบการณ์จากการสร้างรถยนต์มาแล้ว . . ระบบการบริหารงานจึงอยู่ในสมองของเขาทั้งหมด ตรงนี้เอง คือ จุดกำเนิดนวตกรรมใหม่หลังสงครามโลกของเครือข่ายในนามของ ซูซูกิ เมื่อเขานำเอา เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ที่เหลือจากสงคราม มาเป็นต้นกำลังของรถจักรยานติดเครื่องโดยให้ชื่อรถรุ่นแรกเป็นแบบ A Type และได้รับการต้อนรับจากมหาชนอย่างล้นหลาม ทำให้ซูซูกิหันไปพัฒนาโรงงาน เดิมที่ Hamamatsu นกลายเป็นเศูนยกลางการ ผลิตรถจักรยานยนต์ซูซูกิในเวลาต่อมา

ในช่วงของการเริ่มต้นที่ผ่านมา Mr. Mishio Suzuki ได้ผลิต แต่ตัวเครื่องอย่างเดียว จึงเริ่มต้นการปรับกลยุทธ์การผลิตอีก ครั้งหนึ่ง เพราะเมื่อรัฐบาลกลางสามารถบูรณะถนนหนทางได้ดี ขึ้นกว่าเดิมแล้วยานยนต์ หลายชนิดเริ่มเพิ่มความเร็วของเครื่องยนต์ ได้มากขึ้นการใช้ตัวถังรถจักรยานยนต์เริ่มเป็นอุปสรรคต่อ ความเร็วดังนั้น ซูซูกิ จึงผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งคันเพื่อรองรับขีดความสามรถของเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น โดยเริ่มผลิต 90 ซีซี. สูบเดียว 4 จัวหวะให้รอบเครื่องยนต์ 4,000 รอบต่อนาที โดยให้ชื่อ รุ่นประเดิมชัยครั้งนี้ว่า Coleda นับเป็นรุ่นสำคัญของสายการผลิตแบบครบระบบตามแผนพัฒนาที่ซูซูกิตั้งเป้าหมายเบื้องต้นเอาไว้ได้ รถรุ่นนี้ได้มีการปรับแต่งลงสนามแข่งขันเพื่อแสดงให้ประชาชน เห็นถึงสมรรถนะอันสูงเยี่ยมของระบบเครื่องยนต และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในกลุ่มผู้นิยมความเร็วในช่วงต้น ปี 2510 บริษัท ซูซกิ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ขยายกิจการมาตั้งโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ที่เมืองไทย โดยใช้ชื่อโรงงาน"ไทยซูซูกิมอเตอร์" โดยร่วมทุนกับบริษัท เอส.พี. ซูซูกิ จำกัด (มหาชน) และบ้านซูซูกิ จำกัด ดังที่เรารู้จักดีแล้ว Mr. Mishio Suzuki ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยการจัดตั้งกองทุน สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีต่างๆร่วมมือกับ Industry-University โดยแต่งตั้ง Mr.Osamu Suzuki เป็นประธานบริษัท และ Mr. Jitsujino Suzuki เป็นประธานกรรมการ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ที่มา http://www.spsuzuki.com/

No comments:

Post a Comment