บริษัทกลางพร้อมเต็มร้อยรับประกันรถจักรยาน ยนต์เจ้าเดียว ยันรับประกันไม่มีปัญหา มีระบบออนไลน์เรียลไทม์รองรับลูกค้า 10 ล้านกรมธรรม์ ส่วนสินไหมปรับวิธีจ่ายเงินตาย-พิการเร็วขึ้น ตั้งตัวแทนคุณภาพรับเคลมจากผู้ประสบภัยโดยตรงพร้อมสั่งจ่ายผ่านตัวแทนภายใน 7 วัน ไม่ต้องมารับที่สาขาเหมือนอดีต เริ่ม 1 มกราคม 53 พร้อมขยายรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนน
ในจังหวัดเกิดอุบัติเหตุสูง ลดสินไหมทั้งระบบ นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า หากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ให้บริษัทกลางรับประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เพียงบริษัทเดียว บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการแม้ว่าจำนวนลูกค้าที่จะต้องดูแลจะเพิ่มขึ้นมาก ตามจำนวนกรมธรรม์รถจักรยานยนต์ ของทั้งระบบที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้าน กรมธรรม์ที่จะไหลมาอยู่กับบริษัทเทียบ กับ 3.6 ล้านกรมธรรม์ที่รับประกันในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ระหว่างนี้บริษัทได้เตรียม ความพร้อมใน 2 จุดใหญ่คือด้านรับประกันภัยและด้านสินไหมทดแทนในส่วน รับประกันภัยไม่มีปัญหาเนื่องจากระบบการรับประกันภัยในปัจจุบันผ่านระบบออนไลน์แบบเรียไทม์ทั่วประเทศอยู่แล้ว มี 2 ช่องทางคือรับประกันภัยผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Policy : อี-โพลิซี) และผ่าน เครื่องออกกรมธรรม์อัตโนมัติ (PVR) สัดส่วนยอดขายระหว่าง 2 ช่องทางนี้ 50 : 50 แต่ในอนาคตยอดขายผ่านช่องทางอี-โพลิซีจะมากกว่าเพราะบริษัทอื่นที่ต้อง การขายกรมธรรม์ประกันภัยรถจักรยาน ยนต์ ซึ่งจะต้องมารับกรมธรรม์จากบริษัท ไปขายจะมีระบบคอมพิวเตอร์รองรับการขายของตัวแทนมากกว่าเครื่อง PVR
ส่วนด้านสินไหมทดแทนในแง่ครือข่ายโรงพยาบาลที่มีอยู่ 1,109 แห่งรอง รับบริการได้เพียงพอเพราะครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ แต่จะปรับปรุงด้านการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรให้ผู้ประสบภัยได้รับเงินชดเชยเร็วที่สุด ซึ่งจากสถิติประกัน พ.ร.บ. ทั้งระบบมีผู้ประสบภัย 300,000-400,000 รายต่อปีในจำนวนนี้เสียชีวิต 12,000 คน พิการ 20,000-30,000 คน
ภายใต้การปรุบปรุงจะให้ตัวแทนจำนวนหนึ่งมาอบรมเป็นตัวแทนคุณภาพทำหน้าที่รับคำร้องเรียกร้องค่าชดเชยจาก ทายาทผู้ประสบภัยทั้ง 2 กรณีหลังจากนั้น จะคีย์ข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ซึ่งจะออนไลน์เข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งจะพิจารณาจ่ายค่า สินไหมเบื้องต้นและโอนเงินผ่านธนาคารเพื่อจ่ายให้กับผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน
“ในเรื่องค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีบาดเจ็บไม่มีปัญหา เคลียร์กับโรงพยาบาล ได้ทันที ไม่เหมือนตายกับพิการ นโยบายของเราคือจ่ายให้ทันงานศพ ระบบเดิมที่ทำอยู่อย่างกรณีตายเราจ่ายภายใน 3 วัน ส่วนพิการภายใน 7 วันนับแต่ตั้งเบิกเพียง แต่ลูกค้าต้องมารับที่สาขาบริษัทกลางส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง แต่รูปแบบใหม่สามารถรับได้ที่ตัวแทนคุณภาพจะกระจายอยู่ในตำบลหรืออำเภอต่างๆ ซึ่งจะสะดวกกว่ามาก”
นายสมพร กล่าวว่า โครงการตัว แทนคุณภาพจะเริ่มให้บริการวันที่ 1 มกราคม 2553 นี้พร้อมกับความคุ้มครองใหม่ของประกันภัยพ.ร.บ. เบื้องต้นจะมีตัวแทน คุณภาพ 200 คนโดยมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 500 คนภายในสิ้นปี 2553 จากตัวแทนทั้ง หมดประมาณ 3,000 คน
นายสมพร ยังกล่าวถึงกรณีบริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้กับบริษัทกลางฯ เป็นไม่เกิน 16% ของเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ.ทั้งระบบ (ไม่รวมเบี้ยรถจักรยานยนต์) จากเดิมจ่ายอยู่ในอัตรา 2.25% ต่อปีซึ่งจะเริ่มเก็บที่ 10% ก่อนในเดือนมกราคม 2553 นี้ว่า ตามที่คาดการณ์กันว่าปีนี้เบี้ยประกันพ.ร.บ.รถประเภทอื่นจะอยู่ประมาณ 7,000 ล้านบาท เก็บเงินสมทบ 10% เท่ากับ 700 ล้านบาท เป็นเงินชดเชยก้อนใหม่ที่บริษัทกลางจะได้รับ ขณะที่การเพิ่มความคุ้มครองประกันพ.ร.บ.ซึ่งจะทำให้อัตราค่าสินไหมทด แทน (Loss Ratio) รถจักรยานยนต์ทั้งระบบเพิ่มขึ้นเป็น 133-135% จาก 83% หรือจะขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาทต่อปีเท่ากับเงินสมทบที่ได้เพิ่มมายังไม่พอรองรับผลขาดทุนยังมีส่วนต่างอยู่อีกประมาณ 500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี บริษัทกลางต้องพยายาม บริหารจัดการเพื่อลดความเสียหาย ลดผลขาดทุนให้น้อยลงโดยจะเพิ่มการรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยและอุบัติเหตุบนท้องถนนเจาะจงลงไปในพื้นที่ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงจากเดิมไม่ได้เจาะจงพื้นที่ โดย พื้นที่เป้าหมายคือกรุงเทพมหานคร สมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและหัวเมืองใหญ่ อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น ตาก เพชรบูรณ์ เป็นต้น อาจจะใช้งบประมาณมากขึ้นแต่น่าจะคุ้มค่า
เพิ่มเติม หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
ในจังหวัดเกิดอุบัติเหตุสูง ลดสินไหมทั้งระบบ นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า หากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ให้บริษัทกลางรับประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เพียงบริษัทเดียว บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการแม้ว่าจำนวนลูกค้าที่จะต้องดูแลจะเพิ่มขึ้นมาก ตามจำนวนกรมธรรม์รถจักรยานยนต์ ของทั้งระบบที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้าน กรมธรรม์ที่จะไหลมาอยู่กับบริษัทเทียบ กับ 3.6 ล้านกรมธรรม์ที่รับประกันในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ระหว่างนี้บริษัทได้เตรียม ความพร้อมใน 2 จุดใหญ่คือด้านรับประกันภัยและด้านสินไหมทดแทนในส่วน รับประกันภัยไม่มีปัญหาเนื่องจากระบบการรับประกันภัยในปัจจุบันผ่านระบบออนไลน์แบบเรียไทม์ทั่วประเทศอยู่แล้ว มี 2 ช่องทางคือรับประกันภัยผ่านอินเตอร์เน็ต (E-Policy : อี-โพลิซี) และผ่าน เครื่องออกกรมธรรม์อัตโนมัติ (PVR) สัดส่วนยอดขายระหว่าง 2 ช่องทางนี้ 50 : 50 แต่ในอนาคตยอดขายผ่านช่องทางอี-โพลิซีจะมากกว่าเพราะบริษัทอื่นที่ต้อง การขายกรมธรรม์ประกันภัยรถจักรยาน ยนต์ ซึ่งจะต้องมารับกรมธรรม์จากบริษัท ไปขายจะมีระบบคอมพิวเตอร์รองรับการขายของตัวแทนมากกว่าเครื่อง PVR
ส่วนด้านสินไหมทดแทนในแง่ครือข่ายโรงพยาบาลที่มีอยู่ 1,109 แห่งรอง รับบริการได้เพียงพอเพราะครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ แต่จะปรับปรุงด้านการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรให้ผู้ประสบภัยได้รับเงินชดเชยเร็วที่สุด ซึ่งจากสถิติประกัน พ.ร.บ. ทั้งระบบมีผู้ประสบภัย 300,000-400,000 รายต่อปีในจำนวนนี้เสียชีวิต 12,000 คน พิการ 20,000-30,000 คน
ภายใต้การปรุบปรุงจะให้ตัวแทนจำนวนหนึ่งมาอบรมเป็นตัวแทนคุณภาพทำหน้าที่รับคำร้องเรียกร้องค่าชดเชยจาก ทายาทผู้ประสบภัยทั้ง 2 กรณีหลังจากนั้น จะคีย์ข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ซึ่งจะออนไลน์เข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งจะพิจารณาจ่ายค่า สินไหมเบื้องต้นและโอนเงินผ่านธนาคารเพื่อจ่ายให้กับผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน
“ในเรื่องค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีบาดเจ็บไม่มีปัญหา เคลียร์กับโรงพยาบาล ได้ทันที ไม่เหมือนตายกับพิการ นโยบายของเราคือจ่ายให้ทันงานศพ ระบบเดิมที่ทำอยู่อย่างกรณีตายเราจ่ายภายใน 3 วัน ส่วนพิการภายใน 7 วันนับแต่ตั้งเบิกเพียง แต่ลูกค้าต้องมารับที่สาขาบริษัทกลางส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง แต่รูปแบบใหม่สามารถรับได้ที่ตัวแทนคุณภาพจะกระจายอยู่ในตำบลหรืออำเภอต่างๆ ซึ่งจะสะดวกกว่ามาก”
นายสมพร กล่าวว่า โครงการตัว แทนคุณภาพจะเริ่มให้บริการวันที่ 1 มกราคม 2553 นี้พร้อมกับความคุ้มครองใหม่ของประกันภัยพ.ร.บ. เบื้องต้นจะมีตัวแทน คุณภาพ 200 คนโดยมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 500 คนภายในสิ้นปี 2553 จากตัวแทนทั้ง หมดประมาณ 3,000 คน
นายสมพร ยังกล่าวถึงกรณีบริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้กับบริษัทกลางฯ เป็นไม่เกิน 16% ของเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ.ทั้งระบบ (ไม่รวมเบี้ยรถจักรยานยนต์) จากเดิมจ่ายอยู่ในอัตรา 2.25% ต่อปีซึ่งจะเริ่มเก็บที่ 10% ก่อนในเดือนมกราคม 2553 นี้ว่า ตามที่คาดการณ์กันว่าปีนี้เบี้ยประกันพ.ร.บ.รถประเภทอื่นจะอยู่ประมาณ 7,000 ล้านบาท เก็บเงินสมทบ 10% เท่ากับ 700 ล้านบาท เป็นเงินชดเชยก้อนใหม่ที่บริษัทกลางจะได้รับ ขณะที่การเพิ่มความคุ้มครองประกันพ.ร.บ.ซึ่งจะทำให้อัตราค่าสินไหมทด แทน (Loss Ratio) รถจักรยานยนต์ทั้งระบบเพิ่มขึ้นเป็น 133-135% จาก 83% หรือจะขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาทต่อปีเท่ากับเงินสมทบที่ได้เพิ่มมายังไม่พอรองรับผลขาดทุนยังมีส่วนต่างอยู่อีกประมาณ 500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี บริษัทกลางต้องพยายาม บริหารจัดการเพื่อลดความเสียหาย ลดผลขาดทุนให้น้อยลงโดยจะเพิ่มการรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยและอุบัติเหตุบนท้องถนนเจาะจงลงไปในพื้นที่ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงจากเดิมไม่ได้เจาะจงพื้นที่ โดย พื้นที่เป้าหมายคือกรุงเทพมหานคร สมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและหัวเมืองใหญ่ อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น ตาก เพชรบูรณ์ เป็นต้น อาจจะใช้งบประมาณมากขึ้นแต่น่าจะคุ้มค่า
เพิ่มเติม หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
No comments:
Post a Comment